วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมครั้งที่ 5 การการปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path วันที่ 26 เมษายน 2554





แนวคิด

1. "Path" คือเส้นตรงและเส้นโค้งที่เชื่อมต่อกันระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
เพื่อให้มีรูปร่างตามความต้องการ (เรียกว่าเส้น
Path) และยังสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง


2. ประโยชน์ของเส้นพาธ ช่วยในการสร้างรูปร่างต่าง ๆ ได้ตามต้องการ


3. สามารถปรับแต่งตัวอักษรแบบ Type on Path ได้

































ความรู้สึกจากการที่ได้เรียนในครั้งนี้



การที่ดิฉันได้ลงมือปฏิบัติในครั้งนี้รู้สึกยากพอสมควร
เพราะกว่าที่จะตัดต่อรูปได้ และหารูปมาลง ปรับตัวอักษรลงในวงกลมที่กลับไปกลับมา
และการที่ต้องจัดรูปแบบให้เรียบร้อยและออกมาสวยงามต้องใช้เวลานานพอสมควร
และยังต้องใช้เวลาทำที่มหาวิทยาลัยอีกด้วย เนื่องจากไม่สามารถทำที่หอได้
ไม่สะดวกกับการเปิดโปรแกรม
Adobe Indesing แต่ผลที่ออกมาก็ดีถูกใจค่ะ






แหล่งอ้างอิง



- จากเว็บ E-learning = ข้อมูล





วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมครั้งที่ 5 วิธีการแก้ตัวอักษรลอย วันที่ 26 เมษายน 2554

1.สระลอย คือ อะไร
ตอบ วรรณยุกต์ที่ลอยสูงกว่าตัวอักษรมากจนเกินไป ทำให้รูปแบบประโยคออกมาไม่
สวยงาม




ตัวอย่างสระลอย


2.มีผลกระทบต่อการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างไร
ตอบ ทำให้รูปแบบประโยคไม่สวยงาม,ตัววรรณยุกต์อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม

3.โปรแกรมที่ใช้แก้สระลอยชื่อโปรแกรมอะไร สามารถใช้งานได้อย่างไร
ตอบ โปรแกรม asksqure (เอเอสเค สแควร์) สามารถใช้งานโดย
1.ดาวโหลดโปรแกรมจากเว็บ http://www.askmedia.co.th/it/square.php
2.เมื่อได้ไฟล์มาแล้ว ต้องทำการแก้ซิปออกเสียก่อน โดยการคลิกขวาที่ file ตามด้วย Extract All... next next รอสักครู่ และสุดท้ายกด finish
3.เปิด file ที่เราทำการแก้ Zip แล้ว
4.ดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรม
5.ทำการติดตั้งโดยศึกษาจากไฟล์ pdf (วิธีติดตั้งและใช้งานเบื้องต้น) ที่อยู่ไฟล์ Zip ด้วยกัน
6.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรมเพื่อเป็นการเปิดโปรแกรมในการใช้งาน
7.ลองเปิดโปรแกรม Adobe Indesing CS3 แล้วลองพิมข้อความใดก็ได้ที่มีทั้ง
ตัวษรและวรรณยุกต์ในข้อความเดียวกัน เพื่อตรวจสอบว่าเราได้เปิดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
8.สามารถนำไปใช้งานได้ตามปกติ

โลโก้ของเว็บ เอเอสเค สแควร์







แหล่งอ้างอิง

- http://www.askmedia.co.th/it/square.php = ข้อมูล



วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมครั้งที่ 4 รู้จักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ วันที่ 19 เมษายน 2554

เทคนิคการใช้ Adobe Indesign ในบางส่วน



การปรับช่องไฟภาษาไทยใน InDesign CS4


http://www.indesignthai.com/?p=14


Indesign แนวทางการทำงานที่ควรรู้กับภาษาไทย


http://www.phpparty.com/index.php/โปรแกรม-Adobe-Indesign/1246-Indesign-แนวทางการทำงานที่ควรรู้กับภาษาไทย


Indesign : การสร้างหน้าเอกสารแบบต่อเนื่อง (แผ่นพับ)


http://www.phpparty.com/index.php/โปรแกรม-Adobe-Indesign/690-Indesign-การสร้างหน้าเอกสารแบบต่อเนื่อง-(แผ่นพับ



แหล่งอ้างอิง


- E-LEANING

กิจกรรมครั้งที่ 4 รู้จักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ วันที่ 19 เมษายน 2554 (เทคนิคการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์,ความรู้สึกฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม A)

เทคนิคการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์


การแก้ไวรัสโฟลเดอร์เป็น Shotcut
start ---> Run ---> พิมพ์ Attrib -a -r -h -s F:\*.* /s /d



ความรู้สึกจากการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม Adobe Indesign


ได้แก่ การลงโปรแกรม, การใช้ Toolbox, การใส่ข้อความ, การใส่ตัวอักษร ลงใน Frame, การเน้นตัวอักษรในรูปแบบ Drop Cap


ตอนที่ได้ไปก็อปไฟล์มาจากเพื่อนรู้สึกกลัวไม่กล้านำแฟลชไดค์ไปลง เพราะเกิดไวรัสแพร่กระจายไปทั่วแฟลชไดค์ของเพื่อนๆของทุกคนที่นำมาเสียบเอาไฟล์ บางคนก็แก้ได้ บางคนก็แก้ไม่ได้ และตอนที่ทำงานก็ใจเย็นจนเกินไปทำให้ส่งงานในรอบแรกไม่ทัน แต่ก็ส่งไปทั้งที่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะกลัวไม่ได้ส่งงาน โชคดีที่อาจารย์ดีเปิดโอกาสให้ส่งอีกรอบ ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ใจดีกับพวกหนู และเหตุผลที่ส่งช้าเพราะชล่าใจจนเกินไป มาทำเอาตอนเช้าที่มหาวิทยาลัยจึงทำให้ช้าพร้อมกับโปรแกรมที่อาจารย์ให้ทำนั้นยาก และทำไม่เป็นเลยต้องมานั่งศึกษาอยู่นานพอสมควร ลบทำใหม่ๆหลายรอบ แต่ผลสุดท้ายก็เสร็จจนได้



แหล่งอ้างอิง


- Powerpoint ของ อาจารย์,E-learning = ข้อมูล




กิจกรรมครั้งที่ 4 รู้จักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ วันที่ 19 เมษายน 2554 (แนะนำการใช้โปรแกรม Adobe Indesign)


แนะนำการใช้โปรแกรม Adobe Indesign



ประโยชน์ของโปรแกรม AdobeInDesign


1. โปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป


2. ใช้ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ


3. ใช้เป็นโปรแกรมจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์


จุดเด่นของโปรแกรม Indesign


1. สามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆ กับการนำเอาโปรแกรม PageMaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator


2. ระบบการทำงานของโปรแกรม InDesign นั้น ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator


3. ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word แล้วจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆ ใน InDesign เสร็จแล้วจึง Export ไฟล์งาน เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ต่อไป


สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้โปรแกรมโหมดสี (Color Mode)


ประเภทของไฟล์ (Format Type)


ขนาดกระดาษ (Size paper)


ฟอนต์ (Font)







โหมดสี (Color Mode)


1. โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน





2. โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ



3. โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำ


ประเภทของไฟล์กราฟฟิคมี 2 ประเภท คือ



1. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "bitmap" ซึ่งเกิดจากการนำเอาจุดสีเล็กๆ หลายๆ จุดมารวมกันเพื่อให้เกิดภาพ มีนามสกุล อาทิ เช่นBMP, TIFF GIT, JPG, PSD, PNG, PFD



2. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based คือไฟล์กราฟฟิคที่เกิดจากการ ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดภาพ หรือเราจะเรียกไฟล์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไฟล์ประเภท "postscript“ มีนามสกุลอาทิ เช่น EPS, AI


ขนาดกระดาษ (Paper Size)


ตารางแสดงขนาดของกระดาษมาตรฐาน







ขนาดกระดาษ (Paper Size)



กระดาษขนาดมาตรฐาน ชุด A


ฟอนต์ (Font)


ฟอนต์ คือ ชุดแบบตัวพิมพ์ อาจแบ่งฟอนต์ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่


ฟอนต์เข้ารหัส


- ฟอนต์ระบบแอสกี (ASCll) อย่างตระกูล DB, DB_AS, DS_AS, JS, JS_AS, PSL, PSL_AD, PSL_AS เป็นต้น


- ฟอนต์ระบบยูนิโค้ด (Unicode) อย่างตระกูล DSN, KS, PSL, PSL_SP, UPC, UPC_NEW, Arial Unicode MS, MS San Serif, Tahoma รวมถึง 4 ฟอนต์แห่งชาติ และ 10 ฟอนต์เพื่อชาติด้วย


ฟอนต์ฟอร์แมต


- Postscript, TrueType, OpenType OpenType NP Naipol All in One, 2005_iannnnJPG, Microsoft Sans Serif








แนะนําโปรแกรม InDesign CS3


Menu Bar หรือ เมนู เป็นชุดเครื่องมือและคําสั่งทุกอย่าง รวบรวมเอาไว้ที่นี่ เช่นการเปิด/ปิดโปรแกรม การเลือก Font เป็นต้น


Control Bar หรือ แถบควบคุม เป็นส่วนควบคุมการทํางานที่กําลังดําเนินการอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะทํางานกับ Font Layout Object เป็นต้น


Tools Box เปรียบเหมือนกล่องเครื่องมือที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์


Palettes เป็นแถบเครื่องมือปลีกย่อยต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้คําสั่งที่ต้องการได้จากที่นี่ หรือสามารถย้ายและลบเครื่องมือ/คําสั่ง ที่ต้องการเอามาที่นี่ได้


เริ่มต้นการทำงาน


เข้าสู่โปรแกรม Adobe InDesign CS3


การตั้งค่าหน้ากระดาษ


เริ่มสร้างชิ้นงาน



แหล่งอ้างอิง


- Powerpoint ของ อาจารย์ = ข้อมูล



- http://www.google.co.th/imghp?hl=th&tab=wi = รูปภาพ







กิจกรรมครั้งที่ 4 รู้จักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ วันที่ 19 เมษายน 2554 (การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเผยแพร่ข่าวสาร <แผ่นพับ>)


การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเผยแพร่ข่าวสาร (แผ่นพับ)



แผ่นพับ หมายถึงกระดาษที่มีการพิมพ์ข้อมูลลงไป อาจจะพิมพ์ 1ด้าน หรือ2ด้าน พิมพ์ 4สี 2สี หรือพิมพ์สีเดียว และมีการพับเป็นแผ่นพับ ที่นิยมพับกันจะเป็น นำใบปลิวA4 มาพับเป็น แผ่นพับ 2พับ 3ตอน หรือ พับครึ่ง การผลิตแผ่นพับ ยิ่งพิมพ์จำนวนมาก ราคาต่อหน่วยจะยิ่งถูกลงเรื่อยๆ


แผ่นพับเป็นการใช้ข้อมูลทั้งแบบย่อ และรายละเอียด ทั้งการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ความเข้าใจ ในสินค้า บริการ หรือกิจกรรม ต่างๆ เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา


วัตถุประสงค์ของแผ่นพับ


1. แผ่นพับเป็นเอกสาร ที่มักใช้ใน การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อมูลให้สาธารณะ


2. แผ่นพับอาจเป็นเอกสารเพื่อการให้ข้อมูลในเชิงความรู้ หรือทางการขายสินค้า หรือเพื่อประโยชน์อื่น


วิธีการทำแผ่นพับ


1. ถ่ายเอกสาร


2. พิมพ์อิงค์เจ็ท


3. พิมพ์เลเซอร์


4. การพิมพ์ออฟเซ็ท ซึ่งทางบริษัท ใช้การพิมพ์ออฟเซ็ท 4สี ในการผลิตแผ่นพับ เนื่องจาก ให้คุณภาพสีที่สดสวย และมีต้นทุนถูก รวมไปถึงยังสามารถพิมพ์ลงบนกระดาษอาร์ทมันได้



ประโยชน์ของแผ่นพับ


@ การแจกแผ่นพับ เพิ่มโอกาสให้กับการขาย


@ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร


@ ลดต้นทุน ลดเวลา ในการตอบคำถาม



ขนาดแผ่นพับ


ขนาดแผ่นพับที่เป็นที่นิยมกัน นอกเหนือจาก A4 พับเป็น 2พับ 3ตอน หรือ เป็นแผ่นพับA4 แล้วพับครึ่งนั้น ก็จะมี อาทิ


@ ขนาด กางออกเป็น A3 ( 29.7x42.0 cm) พับครึ่งสำเร็จเป็น A4 ( 21.0x29.7 cm)


@ ขนาดกางออก 21.0 x 20 cm (ประมาณ 2ใน 3ของA4) แล้วพับครึ่งเป็น 21x10 cm


@ ขนาด A4 3ตอนยาว ( 29.7x 63.0 cm) แล้วพับเหลือเป็นขนาด A4 ( 21.0x29.7 cm






























ชนิดกระดาษที่ใช้ทำแผ่นพับ


1. กระดาษปอนด์ 60 - 100 แกรม ในกรณี เน้นประหยัด กระดาษปอนด์ที่บางที่สุดที่พิมพ์ 4สี 2ด้าน ได้โดยยังดูไม่ทะลุ จะเป็นกระดาษปอนด์ 70 แกรม


2. กระดาษอาร์ทมัน 85 - 160 แกรม เพื่อความดูดี ดูมีราคาของแผ่นพับขึ้นมาอีกโดยกระดาษอาร์ทมัน 85 แกรม ยังสามารถที่จะทำการพิมพ์ออฟเซ็ท 4สี 2ด้าน ได้ดีอยู่


3. กระดาษอาร์ทการ์ด 190 แกรมขึ้นไป กระดาษการ์ดจะมีความหนา ทำให้ไม่สามารถพับโดยใช้เครื่องพับได้เลยทันที จะต้องทำการปั๊มรอยพับก่อน แล้วจึงจะสามารถพับตามรอยพับได้


4. กระดาษการ์ดขาว , กระดาษปก , กระดาษนอก , กระดาษแฟนซี ,กระดาษชนิดอื่นๆ


เทคนิคการเพิ่มมูลค่าให้แผ่นพับ


1. การเคลือบ ยูวี มัน จะทำให้แผ่นพับดูมันวาวขึ้น นิยมใช้กันในหมู่การท่องเที่ยว โดยเฉพาะทางทะเล


2. การเคลือบ ลามิเนท หรือ PVC ด้าน จะทำให้แผ่นพับดูเรียบด้าน หรูขึ้น และดูมีความเหนียว และความหนาเพิ่มมากขึ้น จากการมีชั้นพลาสติกมาเคลือบไว้อีกชั้นบนกระดาษ เป็นลักษณะงานที่เป็นที่นิยมกันในหมู่โรงแรม


3. การปั๊มนูน ปั๊มทอง เหมาะที่จะพิมพ์ สำหรับแผ่นพับที่เน้น หรูหรา เป็นลักษณะ อาร์ทการ์ด เนื่องจากมีราคาต่อหน่วยสูง


4. การไดคัท เป็นรูปทรงพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า



5. การพิมพ์งานสีพิเศษ สีที่ 5 สีที่6 ใช้พิมพ์เพิ่มสี ในกรณีที่มีสีที่แม่พิมพ์สี CMYK ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้เช่น สีทอง สีเงิน






ลักษณะ File Artwork สำหรับการจัดพิมพ์แผ่นพับ


1. เป็นไฟล์ AI หรือ PDF หรือ JPG หรือไฟล์อื่นใดที่มีความละเอียด ความคมชัดเพียงพอ โดยปกติแล้วทำการทดสอบได้โดย การ Zoom 300% จากไฟล์ขนาดเท่าของจริง แล้วทำการเข้าไปดูไฟล์ ว่าภาพ ตัวหนังสือ ไม่แตก


2. ไฟล์ AI อย่าลืม Include Link และ ทำการ Create Outline ตัวอักษร ทุกครั้ง


ส่วนประกอบที่สำคัญของแผ่นพับ


1. ปกหน้า


1.1 logo : ตราสินค้า และชื่อหน่วยงาน หรือบริษัท


1.2 พาดหัว : ข้อความหลักที่เรียกร้องความน่าสนใจ


1.3 ภาพ (ปกหน้า) : เป็นภาพที่ใหญ่ และขายเนื้อหาโดยรวม ได้ดีที่สุด และต้องดูดีด้วย เพราะส่วนมากทักใช้ภาพเดียว


1.4 ข้อความบนปก : เป็นการเลือกข้อความที่กระชับแบบ ย่อ และเป็นใจความ เลือกลงมาวางไว้บนปกหน้า


2. หน้าใน


2.1 เนื้อหา : ข้อมูลบอกเล่าที่ใช้บอกเกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียด ของ สินค้า การบริการ กิจกรรมต่างๆ


2.2 ภาพ (หน้าใน) : อาจใช้หลายภาพ ขึ้นอยู่กับนำมาใช้ขยายความในแต่ละกลุ่มข้อมูล


2.3 องค์ประกอบเรขศิลป์ : ต้องช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ และช่วยส่งเสริมในการสร้าง Guide ในการอ่าน ที่ดี


3. ปกหลัง


3.1 เนื้อหา : อาจใช้เป็นพื้นที่ในการใส่ที่อยู่ ที่ติดต่อ


3.2 ภาพ (ปกหลัง) : เป็นภาพอาจใช้ผสมกับ Graphic เพื่อให้ความรู้สึกถึงตัวคาแลคเตอร์ของสินค้า และบริการดั่งกล่าว


การอออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของแผ่นพับ


1. ระบบกริด


1.1 Column Grid : เป็นระบบกริดในหนึ่งหน้ากระดาษจะมี Unit Grid มากกว่า 1 unit โดยเรียงยาวแนวตั้ง อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ แต่หน้าเป็นหน้า คู่ ควรใช้ลักษณะ repeat /mirror เพราะสร้างลำดับการอ่าน และการจำ ได้ดี


1.2 Modular Grid : เป็นระบบกริดในหนึ่งหน้ากระดาษจะมี Unit Grid มากกว่า 1 unit โดย แบ่งเป็นทั้งแนวนอน และแนวตั้ง โดยมี อัลลี่ย์ และมาร์จิ้น ล้อมรอบ เพื่อสร้างขอบเขตการอ่าน ระบบนี้เมหาะกับงานจำพวกมีองค์ประกอบเป็นจำนวนมากๆ


2. ปกหน้า


2.1 พาดหัว : ควรต้องวางไว้บนส่วนบนของปกหน้า เพราะต้องคำนึงถึง เวลาวางบนกล่องใส่ จะได้เห็นว่า แผ่นพับนี้ขายอะไร ส่วนพาดหัวนี้ต้องมีขนาดที่ใหญ่ มักไม่ต่ำกว่า 36 Point


2.2 ภาพประกอบ : ควรช่วยกันสงเสริม ไม่ใช่ช่วยแปล หรือถอดความ ส่วนใหญ่มักใช้ภาพเดียวเต็มๆ เข้าใจง่ายๆ


2.3 รายละเอียดบนปก : ถ้ามี ไม่ควรใช้ต่ำกว่า 24 Point ควรจัดเรียงให้สัมพันธ์กับภาพประกอบ ไม่ให้โดดเกินไป (องค์ประกอบ) แต่สีโดดเพื่อง่ายแก้การอ่าน


2.4 ตราสัญลักษณ์ : โดยอาจใส่เป็นส่วยหนึ่งของชื่อ brand บริษัท ร่วมกับพาดหัว แต่รองกว่าพาดหัว


3. หน้าใน


3.1 เนื้อหา : นอกจากต้องคำนึงถึงการอ่านที่ง่ายตามระบบกริดที่วางไว้ การออกแบบ Guide ให้ผู้อ่านตามลำดับที่วางไว้เป็นหน้าที่ที่นักออกแบบควรคำนึง อาจใช้องค์ประกอบ graphic เป็นตัวช่วยสร้าง Visual guide ควรคำนึงถึง อัลลีย์ ที่เป็นพื้นที่ว่าง ที่ช่วยทั้งสร้างกลุ่ม ขอบเขตของข้อมูล และเป็น Space ทางสายตาให้พัก เพราะไม่จำเป็นต้องเต็มแน่นเหมือน หนังสือพิมพ์



3.2 ภาพประกอบ : ภาพในหน้าในควรปรับขนาดให้ได้รูปตามเส้น Grid เพราะจะช่วยดูว่าเนื้อหา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และควรมีคำบรรยายใต้ภาพหรือ Caption อยู่เสมอ อาจเลือกใช้ขนาดตัวอักษรที่เล็ก หรือเอียง



แหล่งอ้างอิง


- Powerpoint ของ อาจารย์ = ข้อมูล + รูปภาพ