วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์ตรง ณ ฝ่ายโรงพิมพ์และฝ่ายสื่อการส่งเสริม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพิมพ์ไทยรัฐ 10-11 พ.ค.

ความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟิกในงานสื่อสิ่งพิมพ์

ระบบสี Subtractive
ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง
( Yellow)
หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง





ความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟิกสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์


รูปแบบของไฟล์


กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ตไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ


ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)


ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)


ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)


ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก


ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)

เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ


ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก


จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก


ต้องการพื้นแบบโปร่งใส


ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด


ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว


ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)

จุดเด่น


มีขนาดไฟล์ต่ำ


สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent)


มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace


มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก


เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว


ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)


จุดด้อย


แสดงสีได้เพียง 256 สี


ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)

ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่


GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.. 1987


เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและ
แสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace)



GIF89A
พัฒนาขึ้นในปี ค.. 1989


เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent)
และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษ
โดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา
มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)

เป็นอีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี


1. ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก
(
สนับสนุนถึง 24 bit color)


2. ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้


3.ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต
เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)

จุดเด่น


สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit


สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ


มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive


มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก


เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว


ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)

จุดเด่น


ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้


ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)


กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย
คือ เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะ
ต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสม
กับภาพแต่ละภาพ


ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

จุดเด่น


สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)


สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ


มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace)


สามารถทำพื้นโปร่งใสได้


ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

จุดด้อย


หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาด
ของไฟล์จะมีขนาดต่ำ


ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4


ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card


โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย


ประเภทของไฟล์กราฟฟิคมี 2 ประเภท คือ
1. ไฟล์กราฟฟิค ประเภท
Raster baseded
2.
ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based



ระบบการพิมพ์


http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/PRINTED_MEDIA/lesson4/index.html


ศัพท์ทางการพิมพ์


http://www.bangkokprint.com/index.php?knowledge=knowledge43


ประเภทของไฟล์กราฟิกสำหรับงานพิมพ์


http://www.bangkokprint.com/index.php?knowledge=knowledge43



ความรู้สึกที่ได้ไปร่วมกิจกรรมในครั้งนี้


รู้สึกตื่นเต้น กับการที่ไปทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างมากเพราะกลัวที่จะตื่นไม่ทันขึ้นรถ แต่ผลสุดท้ายก็ได้ไปทันและรอเวลาที่เพื่อนๆมาพร้อมเพรียงกัน และได้ออกเดินทางไปตามเวลาที่กำหนด การเดินทางไปในครั้งนี้ได้สาระความรู้มากขึ้นเยอะค่ะตั้งแต่ที่ม.เกษตรจนถึงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้ความรู้ที่แปลกใหม่ น่าตื่นเต้นสนใจทั้งตึก เครื่องพิมพ์ที่ใหญ่ และการได้เจอสถานที่ที่แปลกใหม่ด้วยเหมือนกัน



แหล่งอ้างอิง


- Powerpiont ของอาจารย์


- E – LEARNING


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น